การเลือกใช้ อุปกรณ์สวิตต์ (Switch) ให้เหมาะสมกับงานควบคุมไฟฟ้า
การเลือกใช้ อุปกรณ์สวิตต์ (Switch) ให้เหมาะสมกับงานควบคุมไฟฟ้า
สวิตต์ รูปแบบต่างๆ
จากรูป เป็นสวิตต์ แบบต่างๆ ที่เรานักออกแบบวงจรควบคุมควรรู้จัก เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ
การพิจารณาเลือกใช้สวิตต์แต่ละแบบ
1. เราอาศัยหลักการทำงานของสวิตต์ที่เราต้องก่อนเป็นหลักเพื่อใช้สอดคล้องกับการทำงานของวงจรที่เราออกแบบ
2. ชนิดที่เราจะใช้เป็น อะไร ใช้จุดไหน เช่น สวิตต์มือ สวิตต์เท้า สวิตต์ประตู เมือเรารู้ตำแหน่งติดตั้งเราก็พอจะเลือกได้คร่าวๆ
3. พิกัด แรงดัน/กระแสที่จะใช้ (V/A)ตรงนี้มีความสำคัญนะครับเพราะมักถูกมองข้าม เหตุผลคือเรามักคิดว่าน่าจะใช้งานได้แต่ที่จริงแล้วเราควรพิจารณาร่วมกับลักษณะงานที่จะนำไปใช้ ยกตัวอย่าง พิกัดแรงดันที่จะใช้เป็น 24 VDC สวิตต์ที่ใช้จ่ายกระแสให้ โหลด 10 แอมป์ สวิตต์เป็นแบบ ไมโครสวิตต์ ก็ไม่ควรใช้แล้วครับเพราะกำลังกระแสสูง ดังนั้นต้องเลือกเป็น POWER Switch จึงจะเหมาะสมครับ ในทางเดียวกัน วงจรพิกัดแรงดันที่จะใช้เป็น 24 VDC สวิตต์ที่ใช้จ่ายกระแสให้ โหลดรีเลย์ควบคุมวงจร ใช้เป็นสวิตต์ ลูกล้อหน้าคอนแทค ต่อวงจรเรียงกันไป 10 ตัว อย่างนี้ก็ต้องระวังเรื่องกระแสไฟครับเพราะกระแสน้อยมาก แรงดันไม่สูงเมื่อหน้าคอนแทคสกปรกนิดหน่อยก็เรียบร้อยมีปัญหาดังนั้นควรปรับแรงดันขึ้นนิดหน่อยให้ไฟแรงขึ้นเพื่อขจัดปัญหาการต่อที่ไม่ดีเหมาะกับงานที่มีสายไฟระยะไกล หรืออุปกรณ์ที่ต้องเปิด-ปิดสวิตต์ตังดังกล่าวบ่อยๆ ควรใชแรงดันมากขึ้นสักหน่อยนะครับ เช่น 48 V หรือ 110 V แต่ทั้งดังต้องคำนึงถึงเรื่องระบบ กราวนด์ ที่เป็นด้านความปลอดภัยด้วยนะครับ
4.จำนวนการใช้งาน หรือการ เปิด-ปิด ที่บ่อยครั้งแค่ไหนครับ อุปกรณ์บางตำแหน่งเิดบ่อย บางตำแหน่งก็ไม่เปิดเลยเป็นแค่ Safety line เท่านั้น ความอดทนสำหรับส่วนที่เปิด-ปิด บ่อยๆ ก็ปรับขนาดให้ใหญ่ขึ้นครับเพื่อใช้งานได้นานขึ้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น